รู้จักประเภทเครื่องฟอกอากาศ


เครื่องฟอกอากาศ

เรา หายใจเพื่อรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย แต่เมื่อในอากาศไม่ได้มีแค่ออกซิเจน เราจึงต้องรับเอาฝุ่นละอองและเชื้อโรคต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่เข้าไปด้วย หลายคนจึงเลือกที่จะใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์สดชื่น โดยมีอุปกรณ์สำคัญอย่าง "แผ่นกรอง" ซึ่งวันนี้ able จะขอเอาแผ่นกรองชนิดที่เป็นที่นิยมมากล่าวให้เห็นกัน

แผ่นกรอง HEPA (HIGH EFFICIENCY PARTICULATE AIR)
เป็นแผ่นกรองที่มีโครงสร้างเป็นเส้นใยแก้วชนิดบางพิเศษนำมาถักทอประสานจนเหนียวแน่น สามารถดักจับไรฝุ่น สารก่อภูมิแพ้ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา รวมไปถึงฝุ่นละอองและเชื้อโรคต่างๆ ที่มีอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอน ได้ 99.97% ซึ่งหมายถึงเชื้อโรคขนาด 0.3 ไมครอน จำนวน 1 แสนตัว จะมีเชื้อโรคเล็ดลอดไปได้ 30 ตัว จึงเป็นแผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง

แผ่นกรอง ULPA (ULTRA LOW PENETRATING AIR)
เป็น แผ่นกรองที่ทำหน้าที่คล้ายกับแผ่นกรอง Hepa แต่มีประสิทธิภาพในการกรองที่ดีกว่า โดยสามารถกรองเชื่อโรคที่มีขนาด 0.1 ไมครอน ได้ถึง 99.999% นั่นคือ เชื้อโรคขนาด 0.1 ไมครอน จำนวน 1 แสนตัว จะสามารถเล็ดลอดไปได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น ถือเป็นมาตรฐานความบริสุทธิ์สะอาดสูงสุด


ข้อเสียของแผ่นกรองชนิก HEPA และ ULPA

- เป็นแผ่นกรองที่สามารถกรองได้ตั้งแต่ฝุ่นผงขนาดใหญ่จนถึงอนุภาคขนาดเล็ก จึงอาจทำให้แผ่นกรองตันเร็วได้
- สิ้นเปลืองพลังงานในการผลักดันอากาศให้ไหลผ่านความหนาแน่นของเส้นใยตัวแผ่นกรอง
- แผ่นกรองมีอายุการใช้งานสั้นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้น

ระบบประจุไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic)
เป็นระบบการฟอกที่ใช้หลักการทำงานด้วยการเติมประจุไฟฟ้าบวกหรือประจุไฟฟ้าลบ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ) ให้กับฝุ่นละอองและเชื้อโรคต่างๆ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ไหลผ่านแผ่นกรองที่มีประจุไฟฟ้าลบ (ประจุไฟฟ้าที่แผ่นกรองจะเป็นประจุไฟฟ้าที่ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้าที่สร้างในอากาศ) ก็จะถูกดูดให้ติดกับแผ่นกรอง ประสิทธิภาพในการกรองสูงสุดประมาณ 95%

ข้อเสียของระบบประจุไฟฟ้าสถิตย์

- ประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคต่างๆ น้อยกว่าแผ่นกรอง HEPA และ ULPA
- เป็นระบบที่ทำหน้าที่เพียงกรองฝุ่นละออง กลิ่น และเชื้อราบางชนิด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแผ่นกรองชนิดที่สามารถกรองเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา คอยทำหน้าที่ร่วมกันภายในเครื่องฟอกอากาศ


ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ
1. สภาพอากาศของบริเวณที่อยู่อาศัย
ดูปริมาณมลภาวะ ฝุ่นละออง และความรุนแรงของอากาศเสีย รวมไปถึงขนาดของห้องที่จะนำไปติดตั้ง เพราะปัจจัยเหล่านี้คือตัวกำหนดชนิด ประเภท และขนาดของเครื่องฟอกอากาศที่จะเลือกซื้อ
2. ค่า CADR (Clean Air Delivery Rate)
ซึ่ง เป็นค่ามาตรฐานสำหรับใช้วัดประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ ค่า CADR ยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการฟอกอากาศที่สูงขึ้น
3. การทำงานเงียบ
ระดับความดังของเครื่องขณะทำงานไม่ควรเกิน 31 เดซิเบล